ad left side

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 73/2557 เรื่อง การให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไปช่วยปฏิบัติงาน

       ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 73/2557
       เรื่อง การให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไปช่วยปฏิบัติงาน

      
       ในการแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น จำเป็นต้องนำความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐมาร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1. ในประกาศฉบับนี้
       "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
       "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งสังกัดหรือดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ และรวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
      
       ข้อ 2. ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีมีคำขอไปยังหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ไปช่วยปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลา บางเวลา หรือนอกเวลาก็ตาม ให้หน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือและถือว่าการไปช่วยปฏิบัติงานนั้นเป็นการ ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
       ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ คำสั่ง ประมวลจริยธรรม หรือมติคณะรัฐมนตรีใด กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม หรือกำหนดเงื่อนไขหรือข้อห้าม อันจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจมาปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งได้ มิให้นำบทบัญญัติหรือมตินั้นมาใช้บังคับกับผู้ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคณะรัฐมนตรีมีคำขอตามวรรคหนึ่งและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐหรือคณะ กรรมการที่เกี่ยวข้องนั้น
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 72/2557 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 72/2557
       เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

      
       เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในส่วนของกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนุญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1. ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       “มาตรา 103/12 ในการแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งมีจำนวนห้าคน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ประกอบด้วย บุคคลดังต่อไปนี้
        (1) รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
        (2) อัยการจังหวัด
       (3) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
       (4) ผู้อำนวยการสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด
       (5) รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด(ฝ่ายทหาร)
       ในกรณีที่มีกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งไม่ครบจำนวนให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด
       ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด เป็นเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา”
      
       ข้อ 2.ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/18 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       “มาตรา 103/18 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัดดังนี้
        (1) ส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยประสานความร่วมมือกับประชาชนและส่วนราชการเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนในทุกระดับได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการทุจริต โดยดำเนินการเพื่อการป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งดำเนินการให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลในทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
       (2) พิจารณาเสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
        (3) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
        กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด มีอำนาจลงนามในหนังสือเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ได้”
      
       ข้อ 3.การสรรหา คัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดที่ได้ดำเนินการไปแล้วเป็นอันใช้ได้ ส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ชะลอไว้ก่อนจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 71 /2557 เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 71 /2557
       เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

      
       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งยังไม่มี เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบการเงินของแผ่นดินโดยรวม ให้สามารถทำหน้าที่ได้ตามกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 47/2557 เรื่อง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 6 มาตรา 8 มาตรา15(6) มาตรา 28 มาตรา 30 และมาตรา 31 หรือมาตราอื่นใดที่ขัดหรือแย้งต่อประกาศฉบับนี้
      
       ข้อ 3 ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
       บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
       ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
      
       ข้อ 4 ให้มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ทางด้านบัญชีและด้านกฎหมายด้านละสองคน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดินอีกด้านละหนึ่งคน โดยผู้ได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
       บุคคลที่สมควรได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
       (1) เคยเป็นข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า
       (2) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
       (3) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของธุรกิจ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยต้องดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าสิบปี
       บุคคลที่ได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่งต้องมีความชำนาญหรือประสบการณ์ทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินอย่างน้อยสองคน
      
       ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
       บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ และต้องไม่เป็นกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในขณะเดียวกัน
       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
       ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
      
       ข้อ 6 ให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ได้รับการสรรหาซึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีวุฒิการศึกษาในระดับตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และต้องเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่า หรือเป็น หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
      
       ข้อ 7 เมื่อดำเนินการสรรหาเสร็จแล้วให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป และให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
      
       ข้อ 8 ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปีนับตั้งแต่วันได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยไม่ให้นำบทบัญญัติที่ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเพียงวาระเดียวมาใช้บังคับ เว้นแต่ผู้นั้นได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินอีกวาระหนึ่ง ให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสามปี และให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสองปี
      
       ข้อ 9 ในระหว่างการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินรักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 75/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 75/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ

      
       เพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นเอกภาพ สามารถแก้ไขปํญหาต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมกองทุนในกิจการของรัฐ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย
       (1) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       (2) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       (3) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
       (4) ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       (5) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       (6) ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       (7) ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       (8) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       (9) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       (10) เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       (11) นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการ
       (12) นายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการ
       (13) นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ
       (14) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ
       (15) นายรพี สุจริตกุล กรรมการ
       (16) นายวิรไท สันติภาพ กรรมการ
       (17) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการ
      
       ข้อ 2 ให้คณะกรรมการตาม ข้อ 1 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
       1.เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและมาตรการในการทำภารกิจต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       2.กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด
       3.บูรณาการการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจให้มีความเป็นเอกภาพ
       4.เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจทั้งในด้านการบริหาร การดำเนินงาน และด้านการเงินต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       5.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
       6.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
       7.เชิญเจ้าหน้าที่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
       8.ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       ข้อ 3 ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นให้เป็นไปตามระเบียบทางราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 26 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 76/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 76/2557
      เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก

     
       เพื่อให้การพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดเป็นไปอย่างเป็นระบบมีเอกภาพและบังเกิดผลในทาง ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณ ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
        องค์ประกอบ
       รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานกรรมการ
       ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
       ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
       ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
       ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
       เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
       รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ
       เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
     
        อำนาจหน้าที่
       เสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการพัฒนาและ แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างยั่งยืน
       กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณ ชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ
       เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
       ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
     
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
     
       สั่ง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
     
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557
       เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

      
       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศ และการสร้างมาตรฐานในการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการและนายจ้างซึ่งประกอบกิจการบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างมาก และเพื่อขจัดการบังคับใช้แรงงานหรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานต่างด้าว คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1 ให้จัดตั้งศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงาน ในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดสุรินทร์ เพื่อดำเนินการพิจารณาออกใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่ประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก และปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้ศูนย์ดังกล่าวเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2557
       ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานมีหน้าที่ในการจัดทำทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
      
       ข้อ 2 คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ไม่ว่าจะได้เคยทำงานในประเทศไทยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม ให้แจ้งความประสงค์ต่อศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงาน ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว การเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาให้เป็นไปตามกฏหมายในเรื่องนั้นๆ
       ในกรณีที่มีนายจ้างยื่นแบบความต้องการแรงงานต่าวด้าว หรือบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวที่เคยทำงานในกิจกรรมของตนเองไว้กับศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานหากศูนย์ดังกล่าวตรวจสอบแล้วพบว่าคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่แจ้งความประสงค์ไว้เป็นผู้ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของนายจ้างหรือเมื่อมีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อของนายจ้างแล้วตรงกับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่แจ้งความประสงค์ไว้ให้แจ้งนายจ้างมารับตัวบุคคลนั้นเพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานชั่วคราวต่อไป
       ให้ศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานพิจารณาออกใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวแก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่นายจ้างมารับตัวตามวรรคสอง โดยให้ใบอนุญาตมีอายุหกสิบวันนับแต่วันที่ออก และให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวสามารถทำงานกับนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
      
       ข้อ 3 เมื่อนายจ้างรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาตามข้อ 2 มาแล้ว ให้นำบุคคลดังกล่าวไปขอรับใบอนุญาตทำงานชั่วคราว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จตามข้อ 4 ในเขตจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการของนายจ้าง
       ใบอนุญาตทำงานชั่วคราวที่ออกตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุเท่าจำนวนวันที่เหลืออยู่ของใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราว
      
       ข้อ 4 ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวและจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก และปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในจังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรกและเริ่มทำการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2557 ส่วนการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศกำหนด
       ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จมีหน้าที่ในการจัดทำทะเบียนประวัติ ออกบัตรประจำตัว และตรวจสุขภาพคนต่างด้าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
      
       ข้อ 5 ให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายหรือการอนุญาตนั้นสิ้นสุดแล้ว หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมาย ไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ
       ในกรณีที่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งไปรายงานตัวพร้อมนายจ้างและแจ้งความประสงค์จะทำงานเป็นกรรมกร หรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกาย โดยไม่ได้อาศัยวิชาความรู้หรือการฝึกทางวิชาการ หรือทำงานอื่นอันมิได้เป็นการฝ่าฝืนกฏหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวให้ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแก่คนต่างด้าวนั้น โดยให้ใบอนุญาตมีอายุหกสิบวันนับแต่วันที่ออก และให้คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวสามารถทำงานกับนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
      
       ข้อ 6 คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้แล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติเพื่อการออกใบอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานตามที่กฏหมายกำหนดต่อไป
      
       ข้อ 7 ใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้สิ้นสุดลงเมื่อคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวหรือใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้มีกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
       (1) วิกลจริตหรือเป็นโรคที่ต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานโดยดุลยพินิจของแพทย์
       (2) ต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
       (3) มีพฤติการณ์ที่เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ
       (4) มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากรหรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
      
       ข้อ 8 มิให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) มาตรา 54 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวหรือใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้ ในระหว่างวันที่อายุของใบอนุญาตยังคงอยู่
      
       ข้อ 9 ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดในใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายแก่แรงงานต่างด้าวและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
      
       ข้อ 10 ให้กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการผ่านเข้าออกประเทศตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวดและให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับขบวนการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยและอาญาแก่เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
      
       ข้อ 11 ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดถือข้อกำหนดในประกาศนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานโดยทั่วกัน และให้พิจารณากำหนดมาตรการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือของผู้ประกอบการและนายจ้าง หรือมาตรการอื่นใดอันจะเป็นการส่งเสริมการดำเนินการตามประกาศนี้
      
       ข้อ 12 ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 73/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงาน ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อทราบอย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557
       เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

      
       เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพ และเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 60/2557 และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (อกนร.)เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (กนร.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
      
       1. องค์ประกอบ
       1.1 เสนาธิการทหาร ประธานอนุกรรมการ
       1.2 อธิบดีกรมจัดหางาน รองประธานอนุกรรมการ
       1.3 อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รองประธานอนุกรรมการ
       1.4 เสนาธิการทหารบก อนุกรรมการ
       1.5 เสนาธิการทหารเรือ อนุกรรมการ
       1.6 เสนาธิการทหารอากาศ อนุกรรมการ
       1.7 ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม อนุกรรมการ
       1.8 รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อนุกรรมการ
       1.9 ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อนุกรรมการ
       1.10 อธิบดีกรมการปกครอง อนุกรรมการ
       1.11 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุกรรมการ
       1.12 อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อนุกรรมการ
       1.13 อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุกรรมการ
       1.14 อธิบดีกรมประมง อนุกรรมการ
       1.15 อธิบดีกรมเจ้าท่า อนุกรรมการ
       1.16 อธิบดีกรมควบคุมโรค อนุกรรมการ
       1.17 อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อนุกรรมการ
       1.18 อธิบดีกรมอาเซียน อนุกรรมการ
       1.19 อธิบดีกรมอนามัย อนุกรรมการ
       1.20 ปลัดกรุงเทพมหานคร อนุกรรมการ
       1.21 ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ อนุกรรมการ
       1.22 ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ อนุกรรมการ
       1.23 ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อนุกรรมการ
       1.24 เจ้ากรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและเลขานุการ
       1.25 ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       1.26 ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       2. อำนาจหน้าที่
       2.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก ต่อคณะกรรมการ
       2.2 ประสานงาน ติดตามการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการ การจัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
       2.3 พิจารณากลั่นกรองแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
       2.4 พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ก่อเสนอคณะกรรมการพิจารณา
       2.5 กำกับการบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศ
       2.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
      
       3. คณะอนุกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 73/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 73/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

      
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ และปัญหาการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 59/2557 และใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
      
       1. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้านและการค้ามนุษย์ (กนร.) ประกอบด้วย
       1.1 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       1.2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) รองประธานกรรมการ
       1.3 ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
       1.4 ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองประธานกรรมการ
       1.5 ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       1.6 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       1.7 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       1.8 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       1.9 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
       1.10 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       1.11 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
       1.12 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
       1.13 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       1.14 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       1.15 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       1.16 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
       1.17 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
       1.18 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       1.19 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       1.20 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       1.21 เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการ
       1.22 เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการ
       1.23 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กรรมการ
       1.24 ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
       1.25 ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
       1.26 ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
       1.27 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       1.28 เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
       1.29 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
       1.30 เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       1.31 เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       1.32 อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       2. คณะกรรมการมีอำนาจ ดังนี้
       2.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็กต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       2.2 อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       2.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       2.4 พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
       2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
       2.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       3. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 69/2557 เรื่อง การยื่นคำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 69/2557
       เรื่อง การยื่นคำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558


       ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2557 เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ที่กำหนดให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมายนั้น

       เพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ตลอดจนการยื่นคำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2558 ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอันจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

       ข้อ 1 ให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แล้วแต่กรณี โดยให้สอดคล้องและอยู่ภายใต้กรอบของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ.2557 - พ.ศ.2560) รวมทั้งต้องเป็นไปตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด และเมื่อจัดทำเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อดำเนินการต่อไป

       ข้อ 2 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่จัดทำตามข้อ 1 และให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้เสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ

       ข้อ 3 เมื่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่เสนอตามข้อ 2 แล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการส่งแผนปฏิบัติราชการดังกล่าวต่อสำนักงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณ

       การส่งแผนปฏิบัติราชการต่อสำนักงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้ยื่นคำขอของบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณแล้ว

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 72/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 72/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

      
       เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียนและข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
      
       1.องค์ประกอบ
      
       1.1หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย ประธานกรรมการ
       1.2 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
       1.3 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       1.4 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       1.5 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       1.6 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       1.7 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       1.8 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       1.9 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       1.10 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       1.11 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       1.12 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       1.13 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
       1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       1.15 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       1.16 ประธานกรรมการหอการค้าไทย กรรมการ
       1.17 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       1.18 ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
       1.19 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
       1.20 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       2. อำนาจหน้าที่
      
       2.1 พิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนร่างเผนแม่บท แผนงานหรือโครงการและแผนปฏิบัติการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติ
       2.2 กำหนดแนวทางให้หน่วยงานถือปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรวมทั้งการส่งเสริมการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนหรือข้อตกลงภายใต้กรอบเศรษฐกิจอื่น หรือการค้าบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
       2.3 กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ตลอดจนให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนแม่บท แผนงานหรือโครงการหรือแผนปฏิบัติการ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       2.4 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม
       2.5 เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
       2.6 ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งดังนี้
       2.7 เสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้มีกฏระเบียบ หรือปรับปรุงแก้ไข กฏระเบียบที่จำเป็นต่อการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
       2.8 ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนายความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายฯ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบาย ฯ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะกิจ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 71/2557 เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 71/2557
       เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

      
       เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยทั้ง 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมือง และความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ และการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างสอดคล้องและสัมพันธ์กัน จึงให้ดำเนินการดังนี้
      
       1. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นผู้บริหารงาน
      
       2.แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
      
       2.1.คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
      
       2.1.1 รองหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       2.1.2 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       2.1.3 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       2.1.4 ปลัดกระทรวงกลาโหม รองประธานกรรมการ
       2.1.5 ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ
       2.1.6 ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
       2.1.7 ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
       2.1.8 ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
       2.1.9 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       2.1.10 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       2.1.11 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
       2.1.12 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
       2.1.13 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       2.1.14 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       2.1.15 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       2.1.16 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
       2.1.17 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       2.1.18 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       2.1.19 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       2.1.20 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
       2.1.21 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       2.1.22 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
       2.1.23 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       2.1.24 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
       2.1.25 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
       2.1.26 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       2.1.27 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       2.1.28 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       2.1.29 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       2.1.30 เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
       2.1.31 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการ
       2.1.32 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรรมการ
       2.1.33 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
       2.1.34 ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
       2.1.35 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
       2.1.36 ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน กรรมการ
       2.1.37 เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       2.1.38 เจ้ากรมยุทธการทหาร ผู้ช่วยเลขานุการ
       2.1.39 อธิบดีกรมอาเซียน ผู้ช่วยเลขานุการ
      
       2.2 อำนาจหน้าที่
      
       2.2.1 บริหารงาน และกำกับดูแลศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้เป็นไปตามนโยบาย
       2.2.2 กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการเข้าร่วมกรอบความร่วมมืออาเซียน
       2.2.3 พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       2.2.4 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ได้ตามความเหมาะสม โดยคณะอนุกรรมการหลักประกอบด้วย
       2.2.4.1 คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
       2.2.4.2 คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
       2.2.4.3 คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
       2.2.5 สามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุม ได้ตามความเหมาะสม
       2.2.6 เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยังคงรับผิดชอบการดำเนินการ ไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
       2.2.7 รายงานผลการปฏิบัติ ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทราบอย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดเป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่

      
       เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
      
       1.ให้ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
      
       2.ให้ นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน มาปฏิบัติหน้าที่ อธิบดีกรมการจัดหางานอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
      
       3.ให้ นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวมาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
      
       4.ให้ นายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดชลบุรี มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 69/2557 เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 69/2557
       เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ

      
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1. ให้ทุกภาคส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐโดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้
      
       ข้อ 2. ในกรณีที่มีการกล่าวหาหรือพบเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ประกอบกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล โดยให้บังคับใช้มาตรการทางวินัย มาตรการทางปกครอง และมาตรการทางกฏหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
      
       ข้อ 3. ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 อย่างเคร่งครัด
      
       ข้อ 4. กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการตามข้อ 2 และข้อ 3 ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญาแล้วแต่กรณี
      
       ข้อ 5. ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐดำเนินการแสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งติดตาม เร่งรัดผลการดำเนินงานตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 และรายงานผลการปฏิบัติพร้อมทั้งเสนอความเห็นให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 18 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 68/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 68/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม

      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ 18 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ดังนี้
      
       1. นางสุวรรณา ตาลเหล็ก
       2. นางพรพิมล ลุนดาพร
       3. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
       4. นางสาวอดาน้อย ห่อมารยาท
       5. นางสาวกริชสุดา คุณะแสน
       6. นายกวี วงศ์รัตนโสภณ
       7. นายนพพร พรหมขัติแก้ว
       8. นางอัมรา วัฒนกูล
       9. นายพรส เฉลิมแสน
       10. นายวิเชียรชนินทร์ สินธุไพร
       11. นางสาวภัทรจิต โชติกพนิช
       12. นางพรรณราย เมาลานนท์
       13. นายพงษ์เทพ ไชยศล
       14. นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์
       15. นายเกษมสันติ จำปาเลิศ
       16. นายเทียนสวัสดิ์ เทียนเงิน
       17. นางภัคจิรา ชุนฮะสี
       18. นายนิทัช ศรีสุวรรณ
       19. นายหาญศักดิ์ เบญจศรีพิทักษ์
       20. นายองอาจ ตันธนสิน
       21. นางสาวรจเรข วัฒนพาณิชย์
       22. นางสาวนุ่มนวล ยัพราช
       23. นายอุทัย มวงศรีเมืองดี
       24. นายอานนท์ กลิ่นแก้ว
       25. นายเจติศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ์
       26. นายศรายุทธ สังวาลย์ทอง
       27. นายธงชัย สุวรรณวิหค
       28. นายดนัย ทิพย์ยาน
       29. นายวิษณุ เกตุสุริยา
       30. นายสุเมธ ตระกูลวุ่นหนู
       31. นายสุขเสก พลตื้อ
       32. นายสุวิทย์ เม็นไธสง
       33. นายวิระศักดิ์ โตวังจร
      
       สั่ง ณ วันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 66 / 2557
       เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน



       เพื่อให้การดำเนินการและการประสานงานในการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศโดยรวม จึงให้ปฏิบัติ ดังนี้
       1. ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้การปฏิบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 ลง วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
       2.ให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ยึดถือนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
       2.1 การดำเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่ จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
       2.2 การดำเนินการเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ การป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่มเติม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด
       2.3 การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมาตั้งแต่เดิมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณากำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อเสนอขออนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยด่วน
       2.4 กรณีใดๆ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนด
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


       สั่ง ณ วันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 68/2557 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ระยะที่ 1 เป็นการชั่วคราว

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 68/2557
       เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ระยะที่ 1 เป็นการชั่วคราว


       ตามที่ปรากฏข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จนเป็นผลให้แรงงานต่างด้าวอพยพ และละทิ้งงานกลับไปภูมิลำเนาของตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีความกังวลต่อผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนั้น จึงขอแจ้งมาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าวให้ทราบ ดังต่อไปนี้

       1. ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง ที่ใช้แรงงานต่างด้าวดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองในการทำงาน และไม่ถูกบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ นายจ้าง ในอุตสาหกรรม ประมงและกิจการต่อเนื่อง โดยในช่วงนี้ คสช. มีมาตรการผ่อนผันให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง จัดทำบัญชีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในความดูแลให้ครบถ้วน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดระเบียบต่อไป 



       2. ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง และแรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางที่ราชการกำหนด เพื่อให้ทางการไทยสามารถให้การคุ้มครองดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน ตามมาตรการระยะที่ 1 ที่ยังมีการผ่อนผัน แต่ยังต้องมีการควบคุม



       3. ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ปราบปรามผู้กระทำผิดการค้ามนุษย์ และขบวนการลักลอบนำพาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย 



       4. เจ้าหน้าที่รัฐคนใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ กลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก สตรี และการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายแรงงาน จะต้องถูกดำเนินการทางวินัย ทางอาญาทันที 



       5. ให้การดำเนินการข้างต้นสอดคล้องกับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมโลก ตลอดจนมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสิทธิแรงงาน และหลักการมนุษยธรรม เพื่อความเป็นธรรม เสมอภาค และมีมนุษยธรรม 



       6. ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ 1 2 3 4 5 และให้รายงานผลให้ คสช. ทราบต่อเนื่อง

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

       ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 65/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 65/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม

      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ดังนี้
      
       1. น.ส.กัญญาภัค มณีจักร
       2. นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย
       3. พ.ท.สมจิตร เชื้อเดช
       4.นายสมชาย มงคลทรัพย์
       5. นายธนิต บุญญนสินีเกษม
       6. นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
      
       สั่ง ณ วันที่ 13 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 64/2557
       เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้

      
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศโดยรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       1. ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบก และกองทัพเรือ ตลอดจนหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือครอบครอง ทำลาย หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สถาพป่า รวมทั้งผู้สมคบและสนับสนุนช่วยเหลือ ให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกพื้นที่ รวมทั้งสกัดกั้นการลักลอบตัดไม้มีค่าหรือไม้หวงห้าม การนำเข้าและส่งออกไม้ที่ผิดกฎหมาย ตลอดแนวชายแดน ตลอดจนปราบปรามเครือข่ายขบวนการตัดไม้ทำลายป่าในทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศ
      
       2. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควบคุม ตรวจสอบ กิจการการแปรรูป การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ การค้าไม้แปรรูป ตลอดจนการค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามและสิ่งประดิษฐ์ใด เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้หวงห้าม หากพบมีการปล่อยปละละเลย หรือมีเจตนาจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่บัญญัติไว้ ให้ดำเนินการลงโทษตรากฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าของหรือผู้ประกอบการโดยทันที
      
       3. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดตามผลคดีป่าไม้และดำเนินการพื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ให้คืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามีส่วนรวมในการดำเนินการดังกล่าวอย่างจริงจัง
      
       4. เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตามกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องถูกดำเนินการทั้งทางวินัยและทางอาญาเด็ดขาดโดยทันที
      
       5. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามผลการดำเนินการตามข้อ 1-4 และรายงานผลการปฏิบัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 63/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 63/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม

      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ดังนี้
      
       1. นายอิสระ สมชัย
       2. นายถนอม อ่อนเกตุพล
       3. นายพิภพ ธงไชย
       4. นายรัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี
       5. นายทินกร ปลอดภัย
       6. นายนัสเซอร์ ยีหมะ
       7. นายอุทัย ยอดมณี
       8. นายมั่นแม่น กะการดี
       9. พล.ต.สมเกียรติ วัฒนวิกย์กิจ
       10. นายศิรวัฒน์ วิยะเศษ
       11. นายกิตติไชย ไสสะอาด
       12. นายสุดชาย บุญไชย
      
       สั่ง ณ วันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 67/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าว

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 67/2557
       เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าว

      
       ตามที่ปรากฏข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จนเป็นผลให้แรงงานต่างด้าวอพยพ และละทิ้งงานกลับไปภูมิลำเนาของตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีความกังวลต่อผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนั้นจึงขอแจ้งมาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าวให้ทราบ ดังต่อไปนี้
      
       1. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังไม่มีนโยบายที่จะเร่งรัดจับกุมกวาดล้างแรงงานต่างด้าวตามที่ปรากฏเป็นข่าว
      
       2. การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ในขณะนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำหนดให้มีมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าว โดยให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง ที่ประกอบกิจการบนบก และทางทะเล จัดเตรียมรายชื่อลูกจ้างในสังกัดให้ครบถ้วน เพื่อให้พร้อมรับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในห้วงต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม การประทุษร้าย รวมทั้งเพื่อให้แรงงานได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ตลอดจนสามารถชี้แจงต่างประเทศได้ โดยไม่ถูกลดระดับความหน้าเชื่อถือ
      
       3. สำหรับมาตรการ/กระบวนการ และการปรับปรุงกฎหมาย ตลอดจนระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ มีความยั่งยืน และไม่ให้เกิดผลกระทบดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ทั้งนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มุ่งหวังที่จะได้ดูแลแรงงานของทุกชาติที่อยู่ในประเทศไทย อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ให้สมกับที่ประเทศต้นทางของแรงงานเหล่านั้นให้ความเป็นห่วง
      
       4. ให้ระมัดระวัง กรณีที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคล แอบอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ มาปล่อยข่าวให้แรงงานเกิดความหวาดกลัว ซึ่งกลุ่มที่กระทำดังกล่าว อาจเป็นกลุ่มที่มุ่งหวังผลประโยชน์ในการจัดระเบียบแรงงานผิดกฎหมายกลุ่มใหม่ หรือไม่ต้องการจ่ายค่าจ้างให้ครบถ้วนตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ทั้งนี้ หากตรวจพบการกระทำดังกล่าว ให้แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อดำเนินการตรวจสอบและลงโทษตามกฎหมายต่อไป
      
       5. ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง ฯลฯ ที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าว ทำความเข้าใจกับลูกจ้างและให้ความร่วมมือกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมทั้งระบบโดยในระยะนี้ ให้ถือว่าเป็นมาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่าวด้าว
      
       6. หากผู้ประกอบการ นายจ้าง แรงงานต่างด้าว และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีข้อสงสัยในการดำเนินการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ขอให้แจ้งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบ ตลอดจนสอบถามข้อสงสัยดังกล่าวโดยทันที ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไป
      
       7. ประเทศไทย ถูกกดดันจากองค์กรสิทธิมนุษยชน และสังคมโลก ในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเถื่อน แรงงานทาส การใช้กำลังประทุษร้ายต่อแรงงาน ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่ประการใด ดังนั้น การเผยแพร่ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้ประเทศไทยขาดความน่าเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       8. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขอประชาสัมพันธ์ให้สื่อต่างประเทศ/องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เข้าใจโดยทั่วกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก เสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนการก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับประเทศต้นทาง โดยเฉพาะกรณีที่มีการปล่อยข่าวว่าเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธต่อแรงงานจนเสียชีวิต หรือมีการจับกุมกวาดล้าง ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริง ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
      
       9. ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ยึดถือการดำเนินการ ตามข้อ 1 - 8 เป็นแนวทางในการปฏิบัติโดยทั่วกัน
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 62/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 62/2557
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่

      
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
      
       1.ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       2.ให้ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
       3.ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       4.ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค รองอัยการสูงสุด เป็นผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุด
       5.ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       6.ให้ นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 67/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 67/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

      
       เพื่อให้การพิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศได้ในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
      
       1. องค์ประกอบ
      
       1.1 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       1.2 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย รองประธานกรรมการ
       1.3 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       1.4 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       1.5 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
       1.6 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       1.7 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       1.8 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       1.9 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       1.10 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       1.11 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       1.12 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       1.13 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       1.14 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       1.15 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       1.16 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       1.17 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
       1.18 ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
       1.19 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       1.20 ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
       1.21 ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรรมการ
       1.22 ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กรรมการ
       1.23 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
       1.24 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายธานินทร์ ผะเอม) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       2. อำนาจหน้าที่
      
       2.1 พิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
       2.2 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม
       2.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 16 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 66/2557 เรื่อง การออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 66/2557
       เรื่อง การออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ

      
       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบแอนาล็อก และสถานีวิทยุกระจายเสียง และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 32/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ แล้วนั้น เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ออกอากาศรายการได้ตามปกติ เมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม แล้วแต่กรณี
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 65/2557 เรื่อง การออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และระบบผ่านดาวเทียม

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 65/2557
       เรื่อง การออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และระบบผ่านดาวเทียม
      

       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องขอให้ระงับการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และสถานีวิทยุชุมชน เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย และโดยที่ในปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชนเริ่มกลับสู่ภาวะปกติแล้ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1. ให้สถานีโทรทัศน์ ดังต่อไปนี้ออกอากาศรายการประจำของสถานีได้ตามปกติ
       1) สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี
       2) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม แบบบอกรับสมาชิก สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์
      
       ข้อ 2. การออกอากาศรายการประจำสถานีของสถานีโทรทัศน์ตามข้อ 1 จะต้องถือปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนาล็อก และสถานีวิทยุกระจายเสียง และประกาศรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 27/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอล และสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดตลอดระยะเวลาการออกอากาศ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 64/2557 เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานทั่วราชอาณาจักร

       ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 64/2557
       เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานทั่วราชอาณาจักร

      
       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานทั่วราชอาณาจักรตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และได้มีการปรับลดห้วงระยะเวลาการห้ามออกนอกเคหะสถาน และยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานในบางพื้นที่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ฉบับที่ 52/2557 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 ฉบับที่ 54/2557 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 ฉบับที่ 56/2557 ลงวันที่ 8 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และฉบับที่ 60/2557 ลงวันที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 แล้วนั้น
      
       เนื่องจากสถานการณ์โดยรวมในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้คลี่คลายลง และไม่ปรากฎสิ่งบอกเหตุอันจะนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อเป็นมาตรการผ่อนคลายและบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน รวมทั้งเพื่อเป็นมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงให้ยกเลิกการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในพื้นที่ส่วนที่เหลือทั่วราชอาณาจักร
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 61/2557 เรื่อง ให้บุคคลเข้ามารายงานตัวเพิ่มเติม

        คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 61/2557
        เรื่อง ให้บุคคลเข้ามารายงานตัวเพิ่มเติม



        เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจาจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันพุธที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 น. ดังนี้


        1. นาย รังสฤษฏิ์ ธิยาโน
        2. นาย ชัชชาญ บุปผาวัลย์
        3. นาย ยงยุทธ บุญดี
        4. นาย วัฒนา ทรัพย์วิเชียร


        สั่ง ณ วันที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

        พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 60/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว

        คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 60/2557
        เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว



        เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพ และเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว(อกนร.) เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
        1.องค์ประกอบ
        1.1. เสนาธิการทหาร ประธานอนุกรรมการ
        1.2. อธิบดีกรมการจัดหางาน รองประธานอนุกรรมการ
        1.3. เสนาธิการทหารบก อนุกรรมการ
        1.4 เสนาธิการทหารเรือ อนุกรรมการ
        1.5 เสนาธิการทหารอากาศ อนุกรรมการ
        1.6 ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม อนุกรรมการ
        1.7 รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อนุกรรมการ
        1.8 ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อนุกรรมการ
        1.9 อธิบดีกรมการปกครอง อนุกรรมการ
        1.10 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุกรรมการ
        1.11 อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อนุกรรมการ
        1.12 อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุกรรมการ
        1.13 อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสัวสดิการ อนุกรรมการ
        1.14 อธิบดีกรมควบคุมโรค อนุกรรมการ
        1.15 อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อนุกรรมการ
        1.16 อธิบดีกรมอาเซียน อนุกรรมการ
        1.17 อธิบดีกรมอนามัย อนุกรรมการ
        1.18 ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ อนุกรรมการ
        1.19 ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อนุกรรมการ
        1.20 เจ้ากรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและเลขานุการ
        1.21 ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
        1.22 ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวกรมการจัดหางาน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
        2. อำนาจหน้าที่
        2.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวต่อคณะกรรมการ
        2.2 ประสานงาน ติดตามการดำเนินงาน ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
        2.3 พิจารณากลั่นกรองแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
        2.4 พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ ก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
        2.5 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
        3. คณะอนุกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยกเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ หรือมีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

        สั่ง ณ วันที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
        พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 59/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว

        คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 59/2557
        เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว



        เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ไขแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม ครอบคลุมทั้งการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ชายแดนแบบมาเช้า-เย็นกลับ แรงงานตามฤดูกาล แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และแรงงานต่างด้าวประเภทอื่นๆ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
        1. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) ประกอบด้วย
        1.1 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
        1.2 ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
        1.3 ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
        1.4 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
        1.5 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
        1.6 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
        1.7 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
        1.8 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
        1.9 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
        1.10 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
        1.11 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
        1.12 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
        1.13 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
        1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
        1.15 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
        1.16 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
        1.17 ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
        1.18 ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
        1.19 ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
        1.20 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
        1.21 เลขาธิการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
        1.22 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
        1.23 เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
        1.24 เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
        1.25 อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
        2.ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
        2.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        2.2 อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        2.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        2.4 พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
        2.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
        3. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู้ภาวะปกติ หรือมีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


        สั่ง ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557
        พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ