ad left side

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 116/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 116/ 2557
         เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย


         เพื่อให้การขับเคลื่อนสินค้าเกษตร อาหารและพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรของพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เกิดความสมดุล เข้มแข็ง และมั่นคง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้ในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ขึ้น เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

         1. องค์ประกอบ
         1.1 พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานอนุกรรมการ
         1.2 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานอนุกรรมการ
         1.3 ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.4 ปลัดกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.5 ปลัดกระทรวงพลังงานหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.6 ปลัดกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.7 ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.8 ปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.9 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.10 ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.11 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.12 ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.13 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุกรรมการและเลขานุการ
         1.14 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

         2. อำนาจหน้าที่

         2.1 เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัยอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งละความสมดุลของภาคการเกษตรที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้งมิติด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน ได้แก่
         (1) การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning)
         (2) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์
         (3) การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตและส่งเสริมให้มีการผลิตได้มาตรฐานและมูลค่าเพิ่ม
         (4) การผลิตแบบเกษตรสมัยใหม่ (Modem farming) และ
         (5) การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เสนอคณะกรรมการ กรอ.

         2.2 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

         2.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ กรอ. มอบหมาย

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 14 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 121/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

         ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 121/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ



         อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

         ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติประจำจังหวัดจังหวัดละหนึ่งคณะ ประกอบด้วยบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557

         ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านต่างๆ ตามมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

ด้านการเมือง

         (1) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(ประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ)

         (2) นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
(อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

         (3) นายนรนิติ เศรษฐบุตร
(อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ , สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (4) นายภุมรัตน ทักษาดิพงศ์
(อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ)

         (5) นายสุจิต บุญบงการ
(อดีตประธานสภาพัฒนาการเมือง, อดีตคณบดีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)

         (6) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
(ว่าที่รองประธานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1)

         (7) นายสุรพล นิติไกรพจน์
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

         (1) นายวิษณุ เครืองาม
(อดีตรองนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษา คสช.)

         (2) นายติน ปรัชญพฤทธิ์
(อดีตหัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)

         (3) นายทศพร ศิริสัมพันธ์
(อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)

         (4) นายนนทิกร กาญจนะจิตรา
(เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)

         (5) นายมีชัย ฤชุพันธุ์
(อดีตประธานวุฒิสภา)

         (6) นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ
(อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

         (7) นายสีมา สีมานันท์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)

ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

         (1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย
(ว่าที่ประธานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ , ผู้ตรวจการแผ่นดิน)

         (2) นายประสพสุข บุญเดช
(อดีตประธานวุฒิสภา)

         (3) นายวิเชียร ชุบไธสง
(อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ สภาทนายความ)

         (4) พลตรี วิระ โรจนวาศ
(ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก)

         (5) นายสมชัย วัฒนการุณ
(ตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด)

         (6) นางสุวณา สุวรรณจูฑะ
(รองปลัดกระทรวงยุติธรรม)

         (7) พลตำรวจเอก สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล
(อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)

ด้านการปกครองท้องถิ่น

         (1) พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา
(อดีตผู้บัญชาการทหารบก)

         (2) นายจาดุร อภิชาตบุตร
(อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)

         (3) นายธวัชชัย ฟักอังกูร
(อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด)

         (4) นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (5) นายวสันต์ วรรณวโรทร
(อดีตรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

         (6) นายสมพร ใช้บางยาง
(อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย)

         (7) นายศิวะ แสงมณี
(อดีตอธิบดีกรมการปกครอง)

ด้านการศึกษา

         (1) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

         (2) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร
(อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

         (3) คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
(อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)

         (4) นายพรชัย มาตังคสมบัติ
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล)

         (5) นายวรากรณ์ สามโกเศศ
(อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)

         (6) นายสมชอบ ไชยเวช
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)

         (7) คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

ด้านเศรษฐกิจ

         (1) นายณรงค์ชัย อัครเศรณี
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (2) นายจีรเดช อู่สวัสดิ์
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)

         (3) นายโชคชัย อักษรนันท์
(อดีตประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)

         (4) นายนพพร เทพสิทธา
(ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย)

         (5) นายปราโมทย์ วิทยาสุข
(อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)

         (6) นายวิศาล บุปผเวส
(อดีตคณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

         (7) นางอภิรดี ตันตราภรณ์
(อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การการค้าโลก (WTO) ณ นครเจนีวา)

ด้านพลังงาน

         (1) หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล
(อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

         (2) นายการุณ กิตติสถาพร
(อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์)

         (3) นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
(อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)

         (4) นายบรรพต หงส์ทอง
(อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

         (5) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.)

         (6) นายพละ สุขเวช
(อดีตผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย)

         (7) นายวิเศษ จูภิบาล
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)

ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

         (1) พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ)

         (2) นางกอบกุล รายะนาคร
(อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านทรัพยากรน้ำ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย)

         (3) นายเจตน์ ศิรธานนท์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (4) นางนิศากร โฆษิตรัตน์
(อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)

         (5) นางเรณู เวชรัชต์พิมล
(รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)

         (6) นายวิจารย์ สิมาฉายา
(อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ)

         (7) นายสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
(เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)

ด้านสื่อสารมวลชน

         (1) พลเอก นภดล อินทปัญญา
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (2) นางจำนรรจ์ ศิริตัน
(นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)

         (3) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์
(เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

         (4) นางพิรงรอง รามสูต รณะนันท์
(อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

         (5) นางวรรณี รัตนพล
(นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประทศไทย (MAAT)

         (6) นายสำเริง คำพะอุ
(นักหนังสือพิมพ์อาวุโส)

         (7) นายอรุณ งามดี
(อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์)

ด้านสังคม

         (1) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

         (2) คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม
(อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์)

         (3) นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร
(อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ)

         (4) นายพรชัย ตระกูลวรานนท์
(รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

         (5) นายมงคล ณ สงขลา
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

         (6) นายสมพล เกียรติไพบูลย์
(ประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)

         (7) คุณหญิง สุชาดา กีระนันท์
(นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ด้านอื่นๆ

         (1) พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
(อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก)

         (2) นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (3) นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง
(กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย)

         (4) หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล
(รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)

         (5) นายวารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ
(กรรมการและรองเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์)

         (6) นายเศรษฐา ศิระฉายา
(ประธานมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส)

         (7) นายอณัส อมาตยกุล
(กรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย)

         ข้อ 3 ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายเจ้าหน้าที่เพื่อรับผิดชอบงานเลขานุการและงานธุรการของคณะกรรมการสรรหาด้านต่างๆ ตามข้อ 2 รวมทั้งจัดให้มีการประชุมเพื่อเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ สรรหา


         ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 115/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557
         เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา


         เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มี ความเจริญและมั่นคง นำพาสังคมและวิถีชีวิตของประชาชนให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืนด้วยหลัก พุทธธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทางพระพุทธศาสนา โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

         1. องค์ประกอบ

         1.1 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ประธานกรรมการ

         1.2 ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ

         1.3 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ

         1.4 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ

         1.5 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ

         1.6 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ

         1.7 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ

         1.8 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ

         1.9 ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการ

         1.10 ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ

         2.อำนาจหน้าที่

         2.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         2.2 อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         2.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         2.4 กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา

         2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการดำเนินการต่างๆ

         2.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

         3 คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
         สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 113/2557 เรื่อง การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 113/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


         ระบุว่า ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 93/2557 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การกำหนดอัตราตำแหน่งและค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้วนั้น

         เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามข้อ 1 (7) แห่งประกาศฉบับดังกล่าว จำนวน 3 ราย ดังนี้
         1. พลตรี วิระ โรจนวาศ
         2. นายคนันท์ ชัยชนะ
         3. นางสาวณัชฐานันท์ รูปขจร

         ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คําสั่ง คสช. ฉบับที่ 112/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ

         คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 112/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ



         เพื่อให้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างสรรค์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเน้นการยกระดับความรู้ความสามารถของบุคคล
และผู้ประกอบการ ปรับปรุงกลไกสนับสนุนของภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน
ทั้งด้านเทคโนโลยี การเงินและการตลาด รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม นําพาประเทศไปสู่
ระดับประเทศที่พัฒนาแล้วภายในเวลาสิบปี หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการ
ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ โดยมีองค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ ดังนี้


         ข้อ 1 ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ


         (1) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ

         (2) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         (3) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         (4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ

         (5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ

         (6) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ

         (7) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ
และสังคมแห่งชาติ

         (8) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ กรรมการ

         (9) เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ

         (10) เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ กรรมการ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

         (11) นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการ

         (12) นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร กรรมการ

         (13) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการ

         (14) นายไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการ

         (15) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ กรรมการ

         (16) นายศักรินทร์ ภูมิรัตน กรรมการ

         (17) ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ กรรมการและเลขานุการ
และเทคโนโลยีแห่งชาติ

         (18) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยเลขานุการ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

         (19) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ

         (20) ผู้แทนสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ช่วยเลขานุการ
(องค์การมหาชน)


         ข้อ 2 ให้คณะกรรมการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

         (1) รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและข้อจํากัดของระบบนวัตกรรมและความสามารถของประเทศในการก้าวสู่สังคมฐานความรู้และการสร้างสรรค์ ซึ่งรวมถึง การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จําเป็นต่อภาคการผลิต บริการ และภาคสังคม โครงสร้างทางด้านการเงินและการลงทุน การวิจัยและพัฒนา มาตรฐานของผลิตภัณฑ์และบริการ การพัฒนากําลังคน ที่เอื้อต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคเอกชน และข้อจํากัดจากกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา


         (2) จัดทําข้อเสนอแนะประเด็นเชิงนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดําเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนากําลังคน การสร้างแรงจูงใจต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนในกิจกรรมวิจัยและพัฒนามากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาท่ยั่งงยืน


         (3) จัดทําข้อเสนอแนะกลไกการเชื่อมโยงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศและตลาดภาครัฐ เข้ากับการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการของประเทศด้วยการให้แรงจูงใจทางภาษี การให้ความช่วยเหลือจากรัฐในด้านการเงินและการระดมทุน ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ


         (4) เชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานตามความเหมาะสมข้อเสนอแนะตาม (2) และ (3) และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ให้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงและประสานงานตามข้อเสนอแนะดังกล่าวกับคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ


         ข้อ 3 เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะตามข้อ 2 แล้ว ให้เสนอข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้กลไกที่พัฒนาขึ้นบังเกิดผลต่อไป ทั้งในระยะเร่งด่วนและในระยะยาว


         ข้อ 4 ให้สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สําหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ โดยอัตราเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของราชการ และให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ


         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


         สั่ง ณ วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คําสั่ง คสช. ฉบับที่ 111/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 85/2557

         คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 111/2557
         เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 85/2557


         โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เพื่อให้การจัดประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการประชุมคณะกรรมการโดยทั่วไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

         ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อจากข้อ 3.9 ของคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

         “สําหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสํานักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติ”


         ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป
         สั่ง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 119/2557 เรื่อง ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

         ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 119/2557
         เรื่อง ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ


         อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557 มาตรา 17 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกระเบียบเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนี้

         ข้อ 1 ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557 มาตรา 10 การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องให้นิติบุคคล ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันเป็นผู้เสนอชื่อ จึงเห็นสมควรกำหนดว่า กรณีนิติบุคคลที่เป็นพรรคการเมือง ประสงค์จะเสนอบุคคล เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ

         ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ