ad left side

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 116/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 116/ 2557
         เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย


         เพื่อให้การขับเคลื่อนสินค้าเกษตร อาหารและพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรของพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เกิดความสมดุล เข้มแข็ง และมั่นคง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้ในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ขึ้น เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

         1. องค์ประกอบ
         1.1 พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานอนุกรรมการ
         1.2 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานอนุกรรมการ
         1.3 ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.4 ปลัดกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.5 ปลัดกระทรวงพลังงานหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.6 ปลัดกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.7 ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.8 ปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.9 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.10 ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.11 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.12 ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
         1.13 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุกรรมการและเลขานุการ
         1.14 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

         2. อำนาจหน้าที่

         2.1 เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัยอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งละความสมดุลของภาคการเกษตรที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้งมิติด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน ได้แก่
         (1) การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning)
         (2) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์
         (3) การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตและส่งเสริมให้มีการผลิตได้มาตรฐานและมูลค่าเพิ่ม
         (4) การผลิตแบบเกษตรสมัยใหม่ (Modem farming) และ
         (5) การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เสนอคณะกรรมการ กรอ.

         2.2 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

         2.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ กรอ. มอบหมาย

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 14 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 121/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

         ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 121/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ



         อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

         ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติประจำจังหวัดจังหวัดละหนึ่งคณะ ประกอบด้วยบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557

         ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านต่างๆ ตามมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

ด้านการเมือง

         (1) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(ประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ)

         (2) นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
(อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

         (3) นายนรนิติ เศรษฐบุตร
(อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ , สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (4) นายภุมรัตน ทักษาดิพงศ์
(อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ)

         (5) นายสุจิต บุญบงการ
(อดีตประธานสภาพัฒนาการเมือง, อดีตคณบดีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)

         (6) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
(ว่าที่รองประธานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1)

         (7) นายสุรพล นิติไกรพจน์
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

         (1) นายวิษณุ เครืองาม
(อดีตรองนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษา คสช.)

         (2) นายติน ปรัชญพฤทธิ์
(อดีตหัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)

         (3) นายทศพร ศิริสัมพันธ์
(อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)

         (4) นายนนทิกร กาญจนะจิตรา
(เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)

         (5) นายมีชัย ฤชุพันธุ์
(อดีตประธานวุฒิสภา)

         (6) นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ
(อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

         (7) นายสีมา สีมานันท์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)

ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

         (1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย
(ว่าที่ประธานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ , ผู้ตรวจการแผ่นดิน)

         (2) นายประสพสุข บุญเดช
(อดีตประธานวุฒิสภา)

         (3) นายวิเชียร ชุบไธสง
(อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ สภาทนายความ)

         (4) พลตรี วิระ โรจนวาศ
(ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก)

         (5) นายสมชัย วัฒนการุณ
(ตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด)

         (6) นางสุวณา สุวรรณจูฑะ
(รองปลัดกระทรวงยุติธรรม)

         (7) พลตำรวจเอก สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล
(อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)

ด้านการปกครองท้องถิ่น

         (1) พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา
(อดีตผู้บัญชาการทหารบก)

         (2) นายจาดุร อภิชาตบุตร
(อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)

         (3) นายธวัชชัย ฟักอังกูร
(อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด)

         (4) นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (5) นายวสันต์ วรรณวโรทร
(อดีตรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

         (6) นายสมพร ใช้บางยาง
(อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย)

         (7) นายศิวะ แสงมณี
(อดีตอธิบดีกรมการปกครอง)

ด้านการศึกษา

         (1) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

         (2) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร
(อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

         (3) คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
(อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)

         (4) นายพรชัย มาตังคสมบัติ
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล)

         (5) นายวรากรณ์ สามโกเศศ
(อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)

         (6) นายสมชอบ ไชยเวช
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)

         (7) คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

ด้านเศรษฐกิจ

         (1) นายณรงค์ชัย อัครเศรณี
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (2) นายจีรเดช อู่สวัสดิ์
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)

         (3) นายโชคชัย อักษรนันท์
(อดีตประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)

         (4) นายนพพร เทพสิทธา
(ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย)

         (5) นายปราโมทย์ วิทยาสุข
(อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)

         (6) นายวิศาล บุปผเวส
(อดีตคณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

         (7) นางอภิรดี ตันตราภรณ์
(อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การการค้าโลก (WTO) ณ นครเจนีวา)

ด้านพลังงาน

         (1) หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล
(อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

         (2) นายการุณ กิตติสถาพร
(อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์)

         (3) นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
(อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)

         (4) นายบรรพต หงส์ทอง
(อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

         (5) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.)

         (6) นายพละ สุขเวช
(อดีตผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย)

         (7) นายวิเศษ จูภิบาล
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)

ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

         (1) พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ)

         (2) นางกอบกุล รายะนาคร
(อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านทรัพยากรน้ำ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย)

         (3) นายเจตน์ ศิรธานนท์
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (4) นางนิศากร โฆษิตรัตน์
(อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)

         (5) นางเรณู เวชรัชต์พิมล
(รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)

         (6) นายวิจารย์ สิมาฉายา
(อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ)

         (7) นายสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
(เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)

ด้านสื่อสารมวลชน

         (1) พลเอก นภดล อินทปัญญา
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (2) นางจำนรรจ์ ศิริตัน
(นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)

         (3) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์
(เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

         (4) นางพิรงรอง รามสูต รณะนันท์
(อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

         (5) นางวรรณี รัตนพล
(นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประทศไทย (MAAT)

         (6) นายสำเริง คำพะอุ
(นักหนังสือพิมพ์อาวุโส)

         (7) นายอรุณ งามดี
(อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์)

ด้านสังคม

         (1) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

         (2) คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม
(อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์)

         (3) นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร
(อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ)

         (4) นายพรชัย ตระกูลวรานนท์
(รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

         (5) นายมงคล ณ สงขลา
(อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

         (6) นายสมพล เกียรติไพบูลย์
(ประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)

         (7) คุณหญิง สุชาดา กีระนันท์
(นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ด้านอื่นๆ

         (1) พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
(อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก)

         (2) นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร
(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

         (3) นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง
(กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย)

         (4) หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล
(รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)

         (5) นายวารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ
(กรรมการและรองเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์)

         (6) นายเศรษฐา ศิระฉายา
(ประธานมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส)

         (7) นายอณัส อมาตยกุล
(กรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย)

         ข้อ 3 ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายเจ้าหน้าที่เพื่อรับผิดชอบงานเลขานุการและงานธุรการของคณะกรรมการสรรหาด้านต่างๆ ตามข้อ 2 รวมทั้งจัดให้มีการประชุมเพื่อเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ สรรหา


         ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 115/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557
         เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา


         เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มี ความเจริญและมั่นคง นำพาสังคมและวิถีชีวิตของประชาชนให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืนด้วยหลัก พุทธธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทางพระพุทธศาสนา โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

         1. องค์ประกอบ

         1.1 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ประธานกรรมการ

         1.2 ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ

         1.3 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ

         1.4 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ

         1.5 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ

         1.6 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ

         1.7 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ

         1.8 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ

         1.9 ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการ

         1.10 ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ

         2.อำนาจหน้าที่

         2.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         2.2 อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         2.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         2.4 กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา

         2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการดำเนินการต่างๆ

         2.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

         3 คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
         สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 113/2557 เรื่อง การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 113/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


         ระบุว่า ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 93/2557 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การกำหนดอัตราตำแหน่งและค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้วนั้น

         เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามข้อ 1 (7) แห่งประกาศฉบับดังกล่าว จำนวน 3 ราย ดังนี้
         1. พลตรี วิระ โรจนวาศ
         2. นายคนันท์ ชัยชนะ
         3. นางสาวณัชฐานันท์ รูปขจร

         ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คําสั่ง คสช. ฉบับที่ 112/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ

         คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 112/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ



         เพื่อให้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างสรรค์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเน้นการยกระดับความรู้ความสามารถของบุคคล
และผู้ประกอบการ ปรับปรุงกลไกสนับสนุนของภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน
ทั้งด้านเทคโนโลยี การเงินและการตลาด รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม นําพาประเทศไปสู่
ระดับประเทศที่พัฒนาแล้วภายในเวลาสิบปี หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการ
ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ โดยมีองค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ ดังนี้


         ข้อ 1 ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ


         (1) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ

         (2) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         (3) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

         (4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ

         (5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ

         (6) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ

         (7) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ
และสังคมแห่งชาติ

         (8) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ กรรมการ

         (9) เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ

         (10) เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ กรรมการ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

         (11) นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการ

         (12) นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร กรรมการ

         (13) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการ

         (14) นายไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการ

         (15) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ กรรมการ

         (16) นายศักรินทร์ ภูมิรัตน กรรมการ

         (17) ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ กรรมการและเลขานุการ
และเทคโนโลยีแห่งชาติ

         (18) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยเลขานุการ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

         (19) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ

         (20) ผู้แทนสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ช่วยเลขานุการ
(องค์การมหาชน)


         ข้อ 2 ให้คณะกรรมการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

         (1) รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและข้อจํากัดของระบบนวัตกรรมและความสามารถของประเทศในการก้าวสู่สังคมฐานความรู้และการสร้างสรรค์ ซึ่งรวมถึง การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จําเป็นต่อภาคการผลิต บริการ และภาคสังคม โครงสร้างทางด้านการเงินและการลงทุน การวิจัยและพัฒนา มาตรฐานของผลิตภัณฑ์และบริการ การพัฒนากําลังคน ที่เอื้อต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคเอกชน และข้อจํากัดจากกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา


         (2) จัดทําข้อเสนอแนะประเด็นเชิงนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดําเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนากําลังคน การสร้างแรงจูงใจต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนในกิจกรรมวิจัยและพัฒนามากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาท่ยั่งงยืน


         (3) จัดทําข้อเสนอแนะกลไกการเชื่อมโยงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศและตลาดภาครัฐ เข้ากับการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการของประเทศด้วยการให้แรงจูงใจทางภาษี การให้ความช่วยเหลือจากรัฐในด้านการเงินและการระดมทุน ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ


         (4) เชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานตามความเหมาะสมข้อเสนอแนะตาม (2) และ (3) และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ให้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงและประสานงานตามข้อเสนอแนะดังกล่าวกับคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ


         ข้อ 3 เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะตามข้อ 2 แล้ว ให้เสนอข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้กลไกที่พัฒนาขึ้นบังเกิดผลต่อไป ทั้งในระยะเร่งด่วนและในระยะยาว


         ข้อ 4 ให้สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สําหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ โดยอัตราเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของราชการ และให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ


         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


         สั่ง ณ วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คําสั่ง คสช. ฉบับที่ 111/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 85/2557

         คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 111/2557
         เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 85/2557


         โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เพื่อให้การจัดประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการประชุมคณะกรรมการโดยทั่วไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

         ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อจากข้อ 3.9 ของคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

         “สําหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสํานักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติ”


         ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป
         สั่ง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 119/2557 เรื่อง ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

         ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 119/2557
         เรื่อง ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ


         อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557 มาตรา 17 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกระเบียบเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนี้

         ข้อ 1 ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557 มาตรา 10 การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องให้นิติบุคคล ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันเป็นผู้เสนอชื่อ จึงเห็นสมควรกำหนดว่า กรณีนิติบุคคลที่เป็นพรรคการเมือง ประสงค์จะเสนอบุคคล เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ

         ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 110/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 110/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม


         เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชน สมควรมีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

         ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมประกอบด้วย

         (1) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
         (2) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
         (3) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
         (4) ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
         (5) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
         (6) ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
         (7) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
         (8) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
         (9) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
         (10) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
         (11) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการ
         (12) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กรรมการ
         (13) นายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กรรมการ
         (14) นายกสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย กรรมการ
         (15) นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กรรมการ
         (16) นายนพพร เทพสิทธา กรรมการ
         (17) นายไพบูลย์ นลินทรากูร กรรมการ
         (18) นายมาโนช โลหเตปานนท์ กรรมการ
         (19) นายวิโรจน์ รุโจปการ กรรมการ
         (20) นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการ
         (21) นายสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ กรรมการ
         (22) นายอนนต์ ศิริแสงทักษิณ กรรมการ
         (23) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรรมการและเลขานุการ

         ข้อ 2 ให้คณะกรรมการตามข้อ 1 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

         (1) เสนอความเห็นต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศ
         (2) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศสำหรับการขนส่งทุกรูปแบบอย่างเป็นระบบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ระบบการขนส่งทั้งในระบบถนน ระบบราง ระบบคมนาคมทางน้ำ และระบบคมนาคมทางอากาศมีความเชื่อมโยงและไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและแผนการจัดการพื้นที่ต่างๆ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศในระดับภูมิภาค
         (3) เสนอแนะแนวทางการลงทุนและการจัดหาแหล่งเงินลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยคำนึงถึงวินัยการเงินการคลังของรัฐ
         (4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการคมนาคมที่มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
         (5) เชิญเจ้าหน้าที่หรือบุคคลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูลหรือขอเอกสารจากหน่วยงานดังกล่าว มาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
         (6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
         (7) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 109/2557 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 109/2557
         เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ


         ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2557 ลงวันที่ 19 มถุนายน 2557 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังต่อไปนี้

         1. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เป็น กรรมการ
         2. รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ) เป็นกรรมการ

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
         สั่ง ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
       (ฉบับชั่วคราว)
       พุทธศักราช ๒๕๕๗

      
       สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
       สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
       ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
      
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยคณะทหารและตํารวจได้นํา ความกราบบังคมทูลว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นในกรุงเทพมหานครและ พื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จนลุกลามไปสู่แทบทุกภูมิภาคของประเทศ ประชาชนแตกแยกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ขาดความสามัคคีและมีทัศนคติไม่เป็นมิตรต่อกัน บางครั้งเกิดความรุนแรง ใช้กําลังและอาวุธสงครามเข้าทําร้ายประหัตประหารกัน สวัสดิภาพและการดํารงชีวิตของประชาชนไม่เป็นปกติสุข การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองชะงักงัน กระทบต่อการใช้อํานาจในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร และในทางตุลาการ การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล นับเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้รัฐจะแก้ไขปัญหาด้วยกลไกและมาตรการทางกฎหมาย เช่น นํากฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในภาวะต่าง ๆ มาบังคับใช้ ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และฝ่ายที่ไม่ได้เป็นคู่กรณี เช่น องค์กรธุรกิจภาคเอกชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กองทัพ และวุฒิสภา ได้พยายามประสานให้มีการเจรจาปรองดองกัน แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ กลับจะเกิดข้อขัดแย้งใหม่ในทางกฎหมายและการเมือง เป็นวังวนแห่งปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น ในขณะที่ความขัดแย้งได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น จนถึงขั้นจลาจลได้ทุกขณะซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของประชาชนผู้สุจริต กระทบต่อการทํามาหากินและภาวะหนี้สินของเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การป้องกันปัญหาจากภัยธรรมชาติ ความเชื่อถือในอํานาจรัฐ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งยังเปิดช่องให้มีการก่ออาชญากรรมและความไม่สงบอื่นเพิ่มขึ้น อันจะเป็นการทําลายความมั่นคงของชาติ และความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงจําเป็นต้องเข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครอง ประเทศ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ยกเว้นความในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ โดยได้กําหนดแนวทางการแก้ปัญหาไว้สามระยะคือ ระยะเฉพาะหน้า เป็นการใช้อํานาจสกัดการใช้กําลังและการนําอาวุธมาใช้คุกคามประชาชน ยุติความหวาดระแวง และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ที่สะสมมากว่าหกเดือนให้คลี่คลายลง เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะที่สองซึ่งจะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทําหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการ แผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ ฟื้นฟู ความสงบเรียบร้อย ความรู้รักสามัคคี และความเป็นธรรม แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง จัดให้มีกฎหมายที่จําเป็นเร่งด่วน จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มี การปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่น ๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่วางกติกาการเมือง ให้รัดกุม เหมาะสม ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สามารถตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรม ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามา บริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ในการดําเนินการดังกล่าวนี้จะให้ความสําคัญแก่หลักการพื้นฐาน ยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตยเพียงประการเดียว จึงจําเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนําความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง ไม่ชัดเจน ไร้ทางออกในยามวิกฤติ ขาดประสิทธิภาพหรือไม่เป็นธรรม ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชนในชาติ ซึ่งควรใช้เวลาไม่ยาวนาน หากเทียบกับเวลา ที่จะต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ถ้าปล่อยให้สถานการณ์ผันแปรไปตามยถากรรม จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทําขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ต่อไป
      
       มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
      
       มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       ให้บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้ และภายใต้บังคับมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภาหรือประธานรัฐสภา ให้หมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตาม รัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี
      
       มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางสภานติิบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
      
       มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่าง ประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
      
       มาตรา ๕ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้
       ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิด ขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุดจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สําหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดให้กระทําได้เฉพาะ เมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูง สุด และเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
      
       มาตรา ๖ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ ต่ํากว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา
       ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
      
       มาตรา ๗ การถวายคําแนะนําเพื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คํานึงถึงความรู้ความสามารถ ความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
      
       มาตรา ๘ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       (๑) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อน วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       (๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
       (๓) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
       (๔) เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
       (๕) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
       (๖) เคยต้องคําพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
       (๗) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตําแหน่ง
       (๘) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานัก
       (๙) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
       สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือรัฐมนตรีในขณะเดียวกันมิได้
      
       มาตรา ๙ สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อ
       (๑) ตาย
       (๒) ลาออก
       (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       (๔) สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๒
       (๕) ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม
       ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภา นิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
      
       มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานสภา นิติบัญญัติแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
      
       มาตรา ๑๑ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องอุทิศตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
      
       มาตรา ๑๒ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมีสิทธิเข้าชื่อ ร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ
       มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
      
       มาตรา ๑๓ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
       สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอํานาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกและการ ปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา และกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่
      
       มาตรา ๑๔ พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกันจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอไดก้็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
       ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ําประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา
       ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติ แห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
       ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภา ปฏิรูปแห่งชาตินั้น คณะรัฐมนตรีอาจขอรับไปพิจารณาก่อนสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะรับหลักการก็ได้
       การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทําได้โดยวิธีการที่ บัญญัติไว้ในมาตรานี้ แต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้กระทําโดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นั้น
      
       มาตรา ๑๕ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็น ชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได ้
        ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสอง ในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างพระราชบัญญัติหรือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้ง หนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหา กษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
      
       มาตรา ๑๖ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี ในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สําคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ต้องห้าม ตามข้อบังคับ ในกรณีนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะตราข้อบังคับกําหนดองค์ประชุมให้แตกต่าง จากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ก็ได้
       เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิก ทั้งหมด จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ ได้ แต่จะ ลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้
      
       มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาสําคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็น สมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้มีการเปิด อภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
      
       มาตรา ๑๘ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใด ๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผ้นูั้นในทางใดมิได้
       เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุมตามคําสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะ กรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นใน ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนผู้ดําเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุกระจาย เสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภา นิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุมที่ มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใด หากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และถ้อยคํานั้นมีลักษณะ เป็นความผิดอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ
        ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยเมื่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี
      
       มาตรา ๑๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ และรัฐมนตรีอื่นอีกจํานวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวาย คําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดําเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ
       ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคําดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
       พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจาก ตําแหน่งตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติถวายคําแนะนําตามมติของสภา นิติบัญญัติแห่งชาติที่เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา
       การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
       นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และให้นําเอกสิทธิ์ตามมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การชี้แจงแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรา นี้ด้วยโดยอนุโลม
      
       มาตรา ๒๐ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
       (๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
       (๓) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
       (๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       (๕) ไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
       (๖) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
       ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อขาด คุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙ (๑) หรือ (๒)
      
       มาตรา ๒๑ เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษา ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้อง พิจารณาโดยด่วนและลับ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดัง เช่นพระราชบัญญัติ
       เมื่อได้ประกาศใช้พระราชกําหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกําหนดนั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่พระราชกําหนดนั้นใช้บังคับ เว้นแต่พระราชกําหนดนั้นมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่ง กฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกนั้นมีผล ใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกําหนดดังกล่าวตกไป
       การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่ไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
      
       มาตรา ๒๒ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อ กฎหมาย พระราชอํานาจในการพระราชทานอภัยโทษ และพระราชอํานาจในการอื่นตามประเพณี การปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
      
       มาตรา ๒๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการทําหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
       หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทย มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับเรื่อง
       หนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ อย่างกว้างขวาง ตามวรรคสอง หมายถึง หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทําให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากร ธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
       เมื่อมีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ คําขอ
      
       มาตรา ๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า ผู้พิพากษาและตุลาการ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และทรงให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตําแหน่งเพราะความตาย
      
       มาตรา ๒๕ บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่รัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้ เป็นอย่างอื่น
      
       มาตรา ๒๖ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระ มหากษัตริย์ให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
      
       มาตรา ๒๗ ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
       (๑) การเมือง
       (๒) การบริหารราชการแผ่นดิน
       (๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
       (๔) การปกครองท้องถิ่น
       (๕) การศึกษา
       (๖) เศรษฐกิจ
       (๗) พลังงาน
       (๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
       (๙) สื่อสารมวลชน
       (๑๐) สังคม
       (๑๑) อื่น ๆ
       ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความ เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทําให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
      
       มาตรา ๒๘ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ ต่ํากว่าสามสิบห้าปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา
       พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นประธานสภา ปฏิรูปแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
      
       มาตรา ๒๙ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) และให้นําความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติโดยอนุโลม แต่การวินิจฉัยตามมาตรา ๙ วรรคสอง ให้เป็นอํานาจของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ
      
       มาตรา ๓๐ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติดําเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
       (๑) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ ด้านละหนึ่งคณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดแต่ละจังหวัดเพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมี ภูมิลําเนา ในจังหวัดนั้น ๆ
       (๒) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านจากผู้ทรง คุณวุฒิ ซึ่งมีความร้และประสบการณ ู ์เป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ
       (๓) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ และมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละด้าน แล้วจัดทําบัญชีรายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองมิได้
       (๔) การสรรหาบุคคลตาม (๓) ให้คํานึงถึงความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ การกระจายตามจังหวัด โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส
       (๕) ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดประกอบด้วยบุคคลตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
       (๖) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติคัดเลือกบุคคลที่เห็นสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) เสนอ ไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน โดยในจํานวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
       จํานวนกรรมการในคณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะ วิธีการสรรหา กําหนดเวลาในการสรรหา จํานวนบุคคลที่จะต้องสรรหา และการอื่นท่จีําเป็น ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
      
       มาตรา ๓๑ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
       (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
       (๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ
       (๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้น
        ในการดําเนินการตาม (๑) หากเห็นว่ากรณีใดจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดําเนินการต่อไป
       ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม (๒) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมสภา ปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก
       ให้นําความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
      
       มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกรรมาธิการจํานวนสามสิบหกคน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้
       (๑) ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ
       (๒) ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จํานวนยี่สิบคน
       (๓) ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ ฝ่ายละห้าคน
       การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นครั้งแรก
       ในกรณีที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญเท่าที่เหลืออยู่ แต่ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทน ตําแหน่งที่ว่างตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่ วันที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่ง
       ให้นําความในมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม
      
       มาตรา ๓๓ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       (๑) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เว้นแต่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       (๒) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
       (๓) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙
       (๔) เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
       เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่งกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ
      
       มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน หนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูป แห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒) แล้วเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณา
       ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนําความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูป แห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒) ความเห็นของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความเห็นของประชาชนรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาด้วย
      
       มาตรา ๓๕ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
       (๑) การรับรองความเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
       (๒) การให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย
       (๓) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกํากับและควบคุมให้การใช้อํานาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
       (๔) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือ คําสั่ง ที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
       (๕) กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดําเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงําหรือชี้นํา โดยบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
       (๖) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ
       (๗) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
       (๘) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบ สนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของ ประเทศ และกลไก การตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
       (๙) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทําลายหลักการสําคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้
       (๑๐) กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสําคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป
       ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาถึงความจําเป็นและความคุ้ม ค่าที่ต้องมีองค์กร ตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่จําเป็นต้องมี ให้พิจารณามาตรการที่จะให้การดําเนินงานขององค์กรดังกล่าวเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย
      
       มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทําเสร็จต่อ ประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ และให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจัดให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประชุมกันเพื่อ พิจารณาเสนอแนะหรือให้ความเห็นให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ ร่างรัฐธรรมนูญ
       สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติเสร็จสิ้นการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คําขอแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่ง ชาติลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ยื่นคําขอหรือที่ให้คํารับรองคําขอของสมาชิก อื่นแล้ว จะยื่นคําขอหรือรับรองคําขอของสมาชิกอื่นอีกมิได้
       ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรี และคณะรักษา ความสงบแห่งชาติด้วย และคณะรัฐมนตรีหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเสนอความคิดเห็นหรือ ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายในสามสิบวันนบแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ
       คําขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ยื่นต่อประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
      
       มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาคําขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง ในการนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ตามที่ เห็นสมควร
       เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือ ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องมีมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่าง รัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติจะแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความของร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นข้อผิดพลาดที่มิใช่สาระสําคัญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าจําเป็นต้องแก้ไข เพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น
       เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคสอง แล้ว ให้ประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาตินําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ โดยให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
       ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระ ราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป
      
       มาตรา ๓๘ ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่ กําหนด หรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไปตามมาตรา ๓๗ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้มีการดําเนินการเพื่อแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยก ร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ขึ้น เพื่อดําเนินการแทน ตามอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
       ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยกร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้ว เสร็จภายในระยะเวลา ที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายในสิบห้า วันนับแต่วันที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง
       ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดที่สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี ชุดใหม่มิได้
      
       มาตรา ๓๙ เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีร่าง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จําเป็น ในการนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณา ร่างกฎหมายที่จําเป็นก็ได้ แต่เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้น
      
       มาตรา ๔๐ เงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ดํารงตําแหน่ง ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
      
       มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม ในการดํารงตําแหน่งทางการเมือง มิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
      
       มาตรา ๔๒ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป และมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
       ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ดํารงตําแหน่งใดในคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ ได้ แต่ในกรณีเพิ่มเติม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าคน และจะกําหนดให้หน่วยงานใดทําหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ได้ตามที่เห็นสมควร
       ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดําเนินการ ตามอํานาจหน้าที่ ที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๙ ในเรื่องใด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
       ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มี การประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณา หรือแก้ไขปัญหาใด ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้
      
       มาตรา ๔๓ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบหรือรับทราบจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ให้เป็นอํานาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการให้ความเห็นชอบหรือ รับทราบแทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
       ก่อนที่คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้จะเขาร้บหน้าที่ ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นอํานาจหน้าที่ของ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       มาตรา ๔๔ ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคง ของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติมีอํานาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
      
       มาตรา ๔๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๕ และมาตรา ๔๔ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกําหนดให้เป็นอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่สําหรับผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีอํานาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อมีกรณีที่เห็น ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
       การพิจารณาและการทําคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา และการทําคําวินิจฉัยที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้ บังคับ ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อวรรคหนึ่งหรือรัฐธรรมนูญนี้
      
       มาตรา ๔๖ ในกรณทีี่เห็นเป็นการจําเป็นและสมควร คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีมติร่วมกันให้แก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญนี้ก็ได้ โดยจัดทําเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบ
       ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่าง รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่าง รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
       ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเห็นชอบด้วย
       มติให้ความเห็นชอบต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
       เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และให้นําความในมาตรา ๓๗ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
      
       มาตรา ๔๗ บรรดาประกาศและคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคําสั่งของหัวหน้าคณะ รักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคําสั่ง ตลอดจน การปฏิบัติตามประกาศหรือคําสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทําก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เป็นประกาศ หรือคําสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็น ที่สุด และให้ประกาศหรือคําสั่งดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคําสั่ง แล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก
       ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคําสั่งให้บุคคลใด ดํารงตําแหน่งหรือพ้นจากตําแหน่งใดที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๔ ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงแต่งตั้งให้บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งนั้นหรือทรงให้บุคคลนั้นพ้นจาก ตําแหน่งนั้นด้วย
      
       มาตรา ๔๘ บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการ ปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       รวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือ ของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
      
       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 108/2557 เรื่อง การตักเตือนสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งฝ่าฝืนข้อห้าม

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557
         เรื่อง การตักเตือนสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งฝ่าฝืนข้อห้าม


         เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และฉบับที่ 103/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ให้บริการด้านสื่อมวลชนทุกชนิดนำเสนอหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จอันส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

         ปรากฏว่า หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 251 วันที่ 26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2557 ตีพิมพ์ข้อความหลายเรื่อง ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว ในชั้นนี้เห็นสมควรตักเตือนผู้เขียนบทความ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา ของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว หากฝ่าฝืนอีกจะดำเนินการตามกฎอัยการศึก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา และส่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายด้วย

         อนึ่ง ให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้ฝ่าฝืนดังกล่าวข้างต้นที่เป็นสมาชิกดำเนินการสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพกับบุคคลเหล่านั้น แล้วรายงานผลการดำเนินการให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 107/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายอาหาร

         คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 107/2557
         เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายอาหาร


         ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ไปแล้ว นั้น

         เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น มีเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ ขณะเดียวกันต้องดูแลคุ้มครองเกษตรกร และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบอุตสาหกรรมให้ได้รับความเป็นธรรม และสามารถเกื้อกูลกันอย่างเหมาะสม และให้เกิดความต่อเนื่องของมาตรการ ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้ง “คณะกรรมการนโยบายอาหาร” โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ :-

องค์ประกอบ
         1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ
         2. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
         3. ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
         4. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
         5. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
         6. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
         7. อธิบดีกรมการค้าภายใน กรรมการและเลขานุการ

อำนาจหน้าที่
         1. กำหนดนโยบายและมาตรการในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น
         2. ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ แต่ละชนิด คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

         สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมคณะกรรมการ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ถ้ามี) ให้ได้รับโดยอนุโลมตามระเบียบราชการโดยให้เบิกจ่ายจากกระทรวงพาณิชย์

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557
         เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง


         ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ไปแล้วนั้น

         เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การดำเนินงานของคุณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลังในเรื่องการระบายและจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการของรัฐ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม และเกิดประโยชน์โดยรวมต่อระบบการผลิตและการค้ามันสำปะหลังของประเทศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ :-

         1. องค์ประกอบ
         1.1 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ประธานอนุกรรมการ
         1.2 ผู้แทนกรมการค้าภายใน อนุกรรมการ
         1.3 ผู้แทนกระทรวงการคลัง อนุกรรมการ
         1.4 ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อนุกรรมการ
         1.5 ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อนุกรรมการ
         1.6 ผู้แทนองค์การคลังสินค้า อนุกรรมการ
         1.7 รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ที่ได้รับมอบหมาย อนุกรรมการและเลขานุการ
         1.8 ผู้อำนวยการกองบริหารการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

         2. อำนาจหน้าที่
         2.1 พิจารณาหลักเกณฑ์ แนวทาง และเงื่อนไขการระบายและจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการของรัฐให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์โดยรวมต่อระบบการผลิตและการค้ามันสำปะหลังของประเทศ
         2.2 กำกับ ดูแล และพิจารณาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการระบายและจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังดังกล่าว รวมทั้งการระบายสต็อกคงเหลือจากการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมา
         2.3 แต่งตั้งคณะทำงาน และที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร
         2.4 เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ
         2.5 ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) มอบหมาย
         2.6 รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ต่อไป

         สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ถ้ามี) ให้ได้รับโดยอนุโลมตามระเบียบราชการโดยให้เบิกจ่ายจากกรมการค้าต่างประเทศ

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 105/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 105/2557
         เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง


         ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ไปแล้ว นั้น

         เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและเพื่อให้การดำนเนิการในการพัฒนาศักยภาพและการแก้ปัญหาสินค้ามันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เป็นประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง” เรียกโดยย่อว่า “นขมส.” โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

         1.องค์ประกอบ
         1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน
         1.2 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการ
         1.3 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ
         1.4 ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการ
         1.5 ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
         1.6 ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ
         1.7 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
         1.8 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
         1.9 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
         1.10 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ
         1.11 อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นกรรมการ
         1.12 เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรรมการ
         1.13 อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นกรรมการ
         1.14 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เป็นกรรมการ
         1.15 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นกรรมการ
         1.16 ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นกรรมการ
         1.17 อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ
         1.18 รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ที่กำกับดูแลกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 2 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
         1.19 ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 2 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

         2.อำนาจหน้าที่
         2.1 เสนอกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับสินค้ามันสำปะหลังต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การบริหารจัดการสินค้ามันสำปะหลังสอดคล้องกันทั้งระบบและมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
         2.2 อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตแะการตลาดมันสำปะหลัง
         2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
         2.4 พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการลานมัน โรงแป้ง และผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพื่อให้การบริหารจัดการมันสำปะหลังทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
         2.5 ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และโครงการที่ได้รับการอนุมัติ
         2.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการด้านการผลิต การตลาด และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมันสำปะหลัง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
         2.7 เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ

         สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ถ้ามี) ให้ได้รับโดยอนุโลมตามระเบียบราชการโดยให้เบิกจ่ายจากกรมการค้าภายใน

         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 100/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร

         คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 100/2557
         เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร


         ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 73/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 แล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนนโยบายในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
         ข้อ 1 ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
         (1) ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานคณะทำงาน
         (2) รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ตามที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบหมาย เป็นรองประธาน
         (3) รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นรองประธานคณะทำงาน
         (4)อธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นคณะทำงาน
         (5)อธิบดรกรมการปกครอง เป็นคณะทำงาน
         (6)อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นคณะทำงาน
         (7) ผู้บัญชาตำรวจสอบสวนกลาง เป็นคณะทำงาน
         (8) ผู้บัญชาตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เป็นคณะทำงาน
         (9) ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นคณะทำงาน
         (10) รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กรุงเทพมหานคร(ฝ่ายทหาร) เป็นคณะทำงาน
         (11) ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียนกรุงเทพมหานคร เป็นคณะทำงาน
         (12) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ

         ข้อ 2 ให้คณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานครตามข้อ 1 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
         (1) ติดตาม ตรวจสอบนายจ้างและสถานประกอบการ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็กภายในเขตกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
         (2) ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนภายในเขตกรุงเทพมหานคร
         (3) รายงานผลการดำเนินงานพร้อมความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ นโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
         (4)แต่งตั้งชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานครเพื่อทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
         (5)ปฏิบัติกรอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์มอบหมาย
ข้อ 3 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐภายในเขตกรุงเทพมหานคร สนับสนุนการดำเนินงานของคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร และชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับกาาร้องขอ
         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         สั่ง ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
         หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ